คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University
การอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับตัวแทนและผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ไบโอดีไซน์ จำกัดในหัวข้อ “พื้นฐานและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย Oxford Nanopore sequencing ”
ในวันที่ 22-23 มีนาคม 2567 นักวิจัยในโครงการ “การพัฒนานักวิจัยแนวหน้าในระดับหลังปริญญาเอกและหลังปริญญาโทด้านการใช้จุลชีววิทยาเชิงระบบฯ” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับตัวแทนและผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ไบโอดีไซน์ จำกัดในหัวข้อ “พื้นฐานและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย Oxford Nanopore sequencing ” เพื่อให้ความรู้แก่นักวิจัยระดับหลังปริญญาฯในโครงการ นักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ บุคลากร และนักวิจัยที่ให้ความสนใจ ในวันที่ 22 มีนาคม 2567 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้อง 3201 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจัด hands-on workshop ในวันที่ 22 มีนาคม 2567 เวลา 13.30-16.30 น. และวันที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 9.00-12.00 น. ณ หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการจัดอบรมครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านจุลชีววิทยาเชิงระบบ (Center of Excellence in Systems Microbiology; CESM) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย พยุงภร และอาจารย์ ดร.พรชัย แก้วทรัพย์ศักดิ์ช่วยให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมทั้งในภาคบรรยายและปฏิบัติการ
25 มีนาคม 2567     |      99
คณะวิทยาศาสตร์ จัดโครงการการสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา (Course Learning outcomes: CLOs) ให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (Program Learning Outcomes: PLOs) กิจกรรมที่ 3
ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการการสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา (Course Learning outcomes: CLOs) ให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (Program Learning Outcomes: PLOs) กิจกรรมที่ 3 ทบทวนการเขียนรายงาน ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา (AUN-QA) Version 4.0 ณ ห้องประชุม 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ การเขียนรายงานการประคุณภาพการศึกษา ใน Criterion 6 Student Support Services (การบริการและการช่วยเหลือผู้เรียน) และ Criterion 7 Facilities and Infrastructure (สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชดาภรณ์ ปันทะรส พร้อมทั้งสรุปและวิเคราะห์การเขียนรายงานการเขียนร่างรายงานการประคุณภาพการศึกษา ใน Criterion 6 Student Support Services (การบริการและการช่วยเหลือผู้เรียน) และCriterion 7 Facilities and Infrastructure (สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนิกานต์ เอมหฤทัย ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์
21 มีนาคม 2567     |      124
คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรม Science Summer Camp 2024
ในระหว่างวันที่ 18-21 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดกิจกรรม Science Summer Camp 2024 สำหรับนักเรียนอายุ 12-16 ปี หรือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ถึงการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในด้านชีววิทยา, ด้านเคมี, ด้านคณิตศาสตร์ และด้านฟิสิกส์สมดุลโมเมนต์ของแรง โดยการเข้าร่วมในครั้งนี้น้อง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งเป็นการนำไปต่อยอดในการเรียนต่อไปในอนาคต และในกิจกรรมวันสุดท้ายได้เข้าเยี่ยมชมสถานีวัดความสั่นสะเทือนฯ จังหวัดเชียงใหม่ โดย น.อ.ชัยฤทธิ์ คล้ายบุญส่ง หัวหน้าสถานีวัดความสั่นสะเทือน พร้อมด้วยข้าราชการสถานี ได้ให้การตอนรับและบรรยายความรู้การทำงานของสถานีฯ พร้อมทั้งช่วงถัดมาได้เข้าเยี่ยมชมสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ณ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
22 มีนาคม 2567     |      167
คณะวิทยาศาสตร์ จัดโครงการติดตาม วิเคราะห์ ประเมินผลโครงการตามยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 (กิจกรรมที่1)
ในวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการติดตาม วิเคราะห์ ประเมินผลโครงการตามยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 กิจกรรมที่ 1 ณ ห้องประชุมผู้บริหาร อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลการจัดโครงการของคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตลอดจนเพื่อนำผลการสรุปผลการติดตาม วิเคราะห์โครงการมาประกอบการรายงานผลการปฏิบัติการในแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2567
15 มีนาคม 2567     |      116
โครงการเขียนร่างรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะ ด้วยเกณฑ์ CUPT-QMS Guidelines ประจำปีการศึกษา 2566 กิจกรรมที่ 1 : การทบทวนวิธีการประเมินการบรรลุ PLOs
ในวันพุธที่ 13 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ดารา ภูสง่า รองคณบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวเปิดโครงการเขียนร่างรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะ ด้วยเกณฑ์ CUPT-QMS Guidelines ประจำปีการศึกษา 2566 กิจกรรมที่ 1 : การทบทวนวิธีการประเมินการบรรลุ PLOs ณ ห้องประชุม 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลการจัดทำการศึกษาให้บรรลุ PLOs ตลอดจนทบทวนวิธีประเมินผู้เรียนในลักษณะที่เน้น rubrics และ marking schemes ที่เหมาะสมและตรงกับ CLOs ของหลักสูตร ซึ่งในโครงการในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ ฟองเพชร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะ ลาน้ำเที่ยง หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติและการจัดการสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มาเป็นผู้ให้ความรู้ พร้อมทั้งแนะนำแนวทางทบทวนวิธีการประเมินการบรรลุ PLOs
14 มีนาคม 2567     |      116
กิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะและเทคนิคปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนจักรคำคณาทร
ในวันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวต้อนรับน้องๆ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนจักรคำคณาทร จ.ลำพูน จำนวน 108 คน ในกิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะและเทคนิคปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนจักรคำคณาทร ในระหว่างวันที่ 12-13 มีนาคม 2567 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยกิจกรรมในครั้งนี้น้องๆ นักเรียนจะได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาทั้งด้านเคมี ฟิสิกส์ และทางเทคโนโลยีชีวภาพ พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน เพื่อเรียนรู้ถึงเทคนิคปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการแก่โรงเรียนและชุมชนต่อไป
13 มีนาคม 2567     |      395
หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ จัดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย
ในวันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2567 หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ (Unit of Excellence in Modern Plant Biotechnology) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ให้กับ นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องเรียน สสวท. โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ณ ชั้น 4 อาคารแม่โจ้ 60 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งในกิจกรรมน้องๆ นักรียนจะได้ความรู้ทางวิชาการ ถ่ายทอดเทคนิคและเทคโนโลยีทางชีวภาพ พร้อมทั้งได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จากคณาจารย์และพี่ๆ นักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
5 มีนาคม 2567     |      177
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
ในวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOA) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการร่วมมือทางด้านวิชาการการให้บริการวิชาการและการวิจัยร่วมกัน เพื่อสร้างและพัฒนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับนักศึกษาแม่โจ้ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคุณมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจ
4 มีนาคม 2567     |      180
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ไฮโดรไทย จำกัด
ในวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานต้อนรับและร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ไฮโดรไทย จำกัด ณ ห้องเอกภพวิทยา อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี คุณไพฑูรย์ ติโลกวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท ไฮโดรไทย จํากัด เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจ ทั้งนี้พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู่และสร้างขีดความสามารถการบูรณาการด้านวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว การใช้ปุ๋ย และการจัดการดิน เพื่อการเพาะปลูกข้าวร่วมกัน ในช่วงถัดมาเป็นพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOA) โครงการแปลงสาธิตพันธุ์ข้าวของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับการใช้ปุ๋ยของ บริษัท ไฮโดรไทย จำกัด ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (คณะวิทยาศาสตร์) กับ บริษัท ไฮโดรไทย จำกัด โดยมีคุณอนุชิดา วงศ์ชื่น ตัวแทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคุณไพฑูรย์ ติโลกวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท ไฮโดรไทย จํากัด เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจ พร้อมทั้งได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ปรับปรุงพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมชมแปลงนาสาธิตเกษตรกร ณ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
28 กุมภาพันธ์ 2567     |      117
ทั้งหมด 38 หน้า