คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University

ในวันที่ 22-23 มีนาคม 2567 นักวิจัยในโครงการ “การพัฒนานักวิจัยแนวหน้าในระดับหลังปริญญาเอกและหลังปริญญาโทด้านการใช้จุลชีววิทยาเชิงระบบฯ” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับตัวแทนและผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ไบโอดีไซน์ จำกัดในหัวข้อ “พื้นฐานและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย Oxford Nanopore sequencing ” เพื่อให้ความรู้แก่นักวิจัยระดับหลังปริญญาฯในโครงการ นักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ บุคลากร และนักวิจัยที่ให้ความสนใจ ในวันที่ 22 มีนาคม 2567 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้อง 3201 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจัด hands-on workshop ในวันที่ 22 มีนาคม 2567 เวลา 13.30-16.30 น. และวันที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 9.00-12.00 น. ณ หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการจัดอบรมครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านจุลชีววิทยาเชิงระบบ (Center of Excellence in Systems Microbiology; CESM) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย พยุงภร และอาจารย์ ดร.พรชัย แก้วทรัพย์ศักดิ์ช่วยให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมทั้งในภาคบรรยายและปฏิบัติการ

ปรับปรุงข้อมูล : 25/3/2567 8:42:46     ที่มา : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 98

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

โครงการเขียนร่างรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะ ด้วยเกณฑ์ CUPT-QMS Guidelines ประจำปีการศึกษา 2566 กิจกรรมที่ 2
ในวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการเขียนร่างรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะ ด้วยเกณฑ์ CUPT-QMS Guidelines ประจำปีการศึกษา 2566 กิจกรรมที่ 2 "ทบทวนการนำข้อมูลด้านวิจัยและนวัตกรรมของคู่เทียบมาสร้างแนวทางปฏิบัติงานวิจัยให้มีความโดดเด่น" โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ดารา ภูสง่า รองคณบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ ณ ห้องประชุม2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งภายในโครงการได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง "การเขียนรายงาน Criteria 3 ให้บรรลุ ระดับ 4" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะ ลาน้ำเที่ยง และในหัวข้อเรื่อง "ทบทวนการนำข้อมูลด้านวิจัยและนวัตกรรมของคู่เทียบมาสร้างแนวทางปฏิบัติงานวิจัยให้มีความโดดเด่น" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดารา ภูสง่า
17 พฤษภาคม 2567     |      25
คณะวิทยาศาสตร์ จัดโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566 กิจกรรมที่ 1 : การวิพากษ์เล่มรายงาน AUN QA Version 4.0
ในวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566 กิจกรรมที่ 1 : การวิพากษ์เล่มรายงาน AUN QA Version 4.0 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และระบบออนไลน์ผ่าน Microsoft Teams ซึ่งภายในโครงการได้มีการบรรยาย เรื่อง "กระบวนการดำเนินงานของหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับเกณฑ์การ ประกันคุณภาพการศึกษา AUN QA Version 4.0" พร้อมทั้งการวิพากษ์ AUN QA ระดับหลักสูตรใน Criteria ที่ 14 ของตัวแทนหลักสูตร จากวิทยากรคุณวุฒิ รองศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ บัวเจริญ พร้อมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง "การสืบค้นข้อมูลจากระบบสารสนเทศของ มหาวิทยาลัย เพื่อใช้ประกอบการจัดทำรายงาน AUN QA" โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะ ลาน้ำเที่ยง
14 พฤษภาคม 2567     |      49