คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University

ในวันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566 รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3 หรือ The 3rd International Conference on Science Technology & Innovation-Maejo University (3rd ICSTI-MJU) (online&onsite) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เป็นผู้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการประชุม ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 ครั้งนี้ได้มีการบรรยายพิเศษ 
Keynote Speakers 2 ท่าน และ Invited Speakers 3 ท่าน
1.Professor Dr. Dankmar Böhning University of Southampton, United Kingdom Title : "Capture-recapture methods with applications in health and society"
2.Professor Dr. Oliver Weichold Institut für Baustoffforschung, Lehr- und Forschungsgebiet Strukturelle Polymerkomposite im Bauwesen und Institut für Baustoffforschung, Germany Title : "The potential of keratin as renewable resource"

3.Associate Professor Dr.Kittipong Chainok Faculty of Science and Technology, Thammasat University Title : "Metal-Organic Framework Based Adsorbents for CO2 Capture: Crystallography and Crystal Chemistry"
4.Associate Professor Dr.Kontad Ounnunkad Department of Chemistry, Faculty of Science, Chiang Mai University Title : "New Electrochemical Biosensors for Clinical Diagnosis"
5.Dr.Pornchai Kaewsapsak Department of Biochemistry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University Title : "Unraveling genome and transcriptome through long-read Nanopore sequencing technology"

พร้อมทั้งการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3 จัดในรูปแบบการประชุมและนำเสนอออนไลน์ผ่านช่องทาง Microsoft Teams และ onsite เพื่อให้นักศึกษาจากทุกสถาบันการอุดมศึกษาทั้งในและนอกประเทศได้มีเวทีในการนำเสนอผลงาน ได้รับความรู้ที่เหมาะสมกับสาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ อีกทั้งยังช่วยเตรียมพร้อมสำหรับอาชีพในอนาคต เป็นการพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ ซึ่งมีผู้สนใจจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศและนอกประเทศ

ปรับปรุงข้อมูล : 11/8/2566 23:09:53     ที่มา : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 284

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

บริษัทไทยออยล์ เอนเนอร์ยี เซอร์วิส จำกัด ได้เข้าประชาสัมพันธ์กิจกรรมแนะนำธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ พร้อมเปิดรับสมัครงานนักศึกษานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม และนักศึกษาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้
ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 บริษัทไทยออยล์ เอนเนอร์ยี เซอร์วิส จำกัด เข้าประชาสัมพันธ์กิจกรรมแนะนำธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ พร้อมทั้งเปิดโอกาสรับสมัครเข้าทำงาน ซึ่งเปิดโอกาสให้กับน้องๆ นักศึกษาหลักสูตรนวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม และน้องๆ นักศึกษาจากหลักสูตรเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ห้องบรรยาย 3201 ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
20 พฤศจิกายน 2567     |      14
เจ้าหน้าที่ Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) คณะวิทยาศาสตร์
ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 เวลา 9.00-11.30 น. ทาง ดร.สุภาภรณ์ รอดประดิษฐ์ นักวิชาการพืชสวน สังกัด สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้นำคณะเจ้าหน้าที่จาก Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) ณ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ โดยมี ผศ.ดร.ปวีณา ภูมิสุทธาผล เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมฝึกประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้แก่คณะผู้ศึกษาดูงาน
20 พฤศจิกายน 2567     |      28
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน)
ในวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานต้อนรับและร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี คุณชัยยศ ชุณห์วิจิตรา ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสินทรัพย์ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจ ทั้งนี้พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัย และการให้บริการวิชาการของบุคลากรซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาของทั้งสองฝ่าย เพื่อสร้างองค์ความรู้และสร้างขีดความสามารถการบูรณาการด้านวิจัยและแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมร่วมกัน สร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของแต่ละฝ่าย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ผลงานวิจัย องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา (Talent Mobility) ระหว่างทั้งสองฝ่าย
19 พฤศจิกายน 2567     |      40