คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2566 อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมเป็นวิทยากรเสวนาวิชาการ ร่วมกับคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566 “นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ” หัวข้อ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตผลเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ” เวลา 13.00 - 14.30 น. ณ ห้อง Co makerspace ชั้น 1 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ซึ่งประกอบด้วยวิทยากรดังนี้
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญนา นาคประสม
(คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
2. อาจารย์ ดร.จิตราพร งามพีระพงศ์
(คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน
(คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนุช เนียมทรัพย์
(คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
5. อาจารย์ ดร.ทิพปภา พิสิษฐ์กุล
(คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ คือ คุณธนารักษ์ พงษ์เภตรา ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร/รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร เรืองนภากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้ดำเนินรายการ
ซึ่งในวันเวลาดังกล่าว มีการเสวนาหัวข้อ “แนวโน้มความต้องการของผลิตผลเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพของภาคอุตสาหกรรมไทย” และ“การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตผลเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ไปใช้ประโยชน์ในระดับภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยและนานาชาติ” โดย คุณธนารักษ์ พงษ์เภตรา ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร/รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการนำเสนอผลงานวิจัยหรือถ่ายทอดประสบการณ์ทางด้านการแปรรูปผลิตผลเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ รวมถึงการนำงานวิจัยด้านการแปรรูปผลิตผลเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ไปใช้ประโยชน์ เช่น ประโยชน์ด้านการเรียนการสอน ประโยชน์เชิงสาธารณะ ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ของวิทยากร
ปรับปรุงข้อมูล : 26/12/2566 10:27:35     ที่มา : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 222

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

บริษัทไทยออยล์ เอนเนอร์ยี เซอร์วิส จำกัด ได้เข้าประชาสัมพันธ์กิจกรรมแนะนำธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ พร้อมเปิดรับสมัครงานนักศึกษานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม และนักศึกษาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้
ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 บริษัทไทยออยล์ เอนเนอร์ยี เซอร์วิส จำกัด เข้าประชาสัมพันธ์กิจกรรมแนะนำธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ พร้อมทั้งเปิดโอกาสรับสมัครเข้าทำงาน ซึ่งเปิดโอกาสให้กับน้องๆ นักศึกษาหลักสูตรนวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม และน้องๆ นักศึกษาจากหลักสูตรเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ห้องบรรยาย 3201 ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
20 พฤศจิกายน 2567     |      15
เจ้าหน้าที่ Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) คณะวิทยาศาสตร์
ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 เวลา 9.00-11.30 น. ทาง ดร.สุภาภรณ์ รอดประดิษฐ์ นักวิชาการพืชสวน สังกัด สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้นำคณะเจ้าหน้าที่จาก Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) ณ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ โดยมี ผศ.ดร.ปวีณา ภูมิสุทธาผล เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมฝึกประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้แก่คณะผู้ศึกษาดูงาน
20 พฤศจิกายน 2567     |      31
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน)
ในวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานต้อนรับและร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี คุณชัยยศ ชุณห์วิจิตรา ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสินทรัพย์ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจ ทั้งนี้พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัย และการให้บริการวิชาการของบุคลากรซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาของทั้งสองฝ่าย เพื่อสร้างองค์ความรู้และสร้างขีดความสามารถการบูรณาการด้านวิจัยและแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมร่วมกัน สร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของแต่ละฝ่าย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ผลงานวิจัย องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา (Talent Mobility) ระหว่างทั้งสองฝ่าย
19 พฤศจิกายน 2567     |      40