คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University

Since 2022, Delightex Pte. Ltd., a pioneering research firm based in Singapore and headed by Dr. Yutaka Kuroki, aims to identify and build the next generation business around naturally occurring substance, has started the strategic research collaboration with the Faculty of Science and the Institute of Product Quality and Standardization (IQS) at Maejo University, Chiang Mai, Thailand. This partnership aims to leverage the expertise of both entities to drive forward advancements in the fields of biotechnology and plant-based medicine/product development. Specifically, Dr. Tippapha Pisithkul, a faculty researcher and the head of the Unit of Excellence in Modern Plant Biotechnology, Faculty of Science, MJU, and her student research assistants undertake the project to examine the potential of Thai natural substances to enhance the proliferation of neuronal cell lines and influence expression of specific genes related to positive mood change. To date, more than 500 Thai natural substances have been explored, with 80 samples have been evaluated in-vitro. The collaboration between Delightex, and the Faculty of Science, MJU signifies a landmark moment in the pursuit of research and development within the biotechnology sector, centering on natural substances.

Through this collaboration, Delightex and MJU's Faculty of Science reaffirm their shared commitment to advancing scientific knowledge and translating research findings into tangible solutions that address utilization of Thai natural substances. By harnessing the collective expertise of both organizations, the partnership aims to catalyze innovation and drive positive change in the biotechnology landscape.

For more information about Delightex Pte. Ltd. and MJU's Faculty of Science, please visit
https://secretary-science.mju.ac.th/, and https://biotech-grad.mju.ac.th/wtms_index.aspx?&lang=th-TH

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2565 บริษัท Delightex Pte. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยชั้นนำในสาธารณรัฐสิงคโปร์ นำโดยดร. ยูทากะ คุโรกิ มีเป้าหมายที่จะสร้างและพัฒนาธุรกิจรุ่นใหม่ (next-generation) โดยใช้สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยได้เริ่มความร่วมมือด้านการวิจัยเชิงกลยุทธ์กับคณะวิทยาศาสตร์ และสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (IQS) ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย การสร้างความร่วมมือนี้มุ่งหวังที่จะใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของทั้งสององค์กรเพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์/ยาจากพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร. ทิพปภา พิสิษฐกุล นักวิจัยและหัวหน้าหน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้ช่วยวิจัยนักศึกษาในหลักสูตร วท.ม. เทคโนโลยีชีวภาพ ทำโครงการเพื่อตรวจสอบศักยภาพของสารธรรมชาติของไทยในการเพิ่มจำนวนของเซลล์ประสาทและศึกษาอิทธิพลของสารสกัดจากพืชต่อการแสดงออกของยีนเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ในเชิงบวก จนถึงปัจจุบัน มีการสำรวจสารธรรมชาติ (natural substances) ในประเทศไทยแล้วกว่า 500 ชนิด โดยมีตัวอย่าง 80 ตัวอย่างที่ได้รับการประเมินในห้องปฏิบัติการ ความร่วมมือระหว่างบริษัท Delightex Pte. Ltd. และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการค้นคว้าและพัฒนาในภาคส่วนเทคโนโลยีชีวภาพโดยเน้นการใช้ประโยชน์จากสารธรรมชาติเป็นหลัก

จากความร่วมมือนี้ บริษัท Delightex Pte. Ltd. และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เน้นย้ำความมุ่งมั่นร่วมกันในการส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแปลผลการวิจัยเป็นการประยุกต์ใช้ที่จับต้องได้ ความร่วมมือนี้มีเป้าหมายเพื่อเร่งการสร้างนวัตกรรมและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกของสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญร่วมกันของทั้งสององค์กร

สามารถทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Delightex Pte. Ltd. และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ที่
https://delightexplorers.com/,
https://secretary-science.mju.ac.th/
และ https://biotech-grad.mju.ac.th/wtms_index.aspx?&lang=th-TH

ปรับปรุงข้อมูล : 5/8/2567 14:46:00     ที่มา : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 165

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวงานวิจัย

ข่าวล่าสุด

บริษัทไทยออยล์ เอนเนอร์ยี เซอร์วิส จำกัด ได้เข้าประชาสัมพันธ์กิจกรรมแนะนำธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ พร้อมเปิดรับสมัครงานนักศึกษานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม และนักศึกษาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้
ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 บริษัทไทยออยล์ เอนเนอร์ยี เซอร์วิส จำกัด เข้าประชาสัมพันธ์กิจกรรมแนะนำธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ พร้อมทั้งเปิดโอกาสรับสมัครเข้าทำงาน ซึ่งเปิดโอกาสให้กับน้องๆ นักศึกษาหลักสูตรนวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม และน้องๆ นักศึกษาจากหลักสูตรเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ห้องบรรยาย 3201 ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
20 พฤศจิกายน 2567     |      14
เจ้าหน้าที่ Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) คณะวิทยาศาสตร์
ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 เวลา 9.00-11.30 น. ทาง ดร.สุภาภรณ์ รอดประดิษฐ์ นักวิชาการพืชสวน สังกัด สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้นำคณะเจ้าหน้าที่จาก Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) ณ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ โดยมี ผศ.ดร.ปวีณา ภูมิสุทธาผล เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมฝึกประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้แก่คณะผู้ศึกษาดูงาน
20 พฤศจิกายน 2567     |      26
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน)
ในวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานต้อนรับและร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี คุณชัยยศ ชุณห์วิจิตรา ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสินทรัพย์ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจ ทั้งนี้พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัย และการให้บริการวิชาการของบุคลากรซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาของทั้งสองฝ่าย เพื่อสร้างองค์ความรู้และสร้างขีดความสามารถการบูรณาการด้านวิจัยและแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมร่วมกัน สร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของแต่ละฝ่าย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ผลงานวิจัย องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา (Talent Mobility) ระหว่างทั้งสองฝ่าย
19 พฤศจิกายน 2567     |      39