คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University
ม.แม่โจ้ และ สวก. ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ข้าว “หอมแม่โจ้ 9” ข้าวพันธุ์ใหม่ ให้สมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว พร้อมเร่งขยายผลส่งต่อถึงมือเกษตร

วันพุธที่ 1 ธันวาคม 2564 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จัดพิธีส่งมอบเมล็ดพันธุ์ข้าว “หอมแม่โจ้ 9” ให้แก่ สมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว พร้อมเร่งเดินหน้าขยายผลในการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวส่งต่อถึงมือเกษตรกรผู้เพาะปลูก โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี โอกาสนี้ นางสาวศิริกร วิวรวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กล่าวถึงความเป็นมาในการสนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์ข้าว และคุณนิทัศน์ เจริญธรรมรักษา ประธานที่ปรึกษาสมาคมฯ กล่าวถึงแนวทางการนำเมล็ดพันธุ์ไปขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกร ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ข้าว “หอมแม่โจ้ 9” ผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ แสงทอง และคณะผู้ปรับปรุงพันธุ์ข้าว จากหน่วยความเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ข้าว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีจุดเด่นในเรื่องคุณภาพเมล็ดทางกายภาพและคุณภาพทางเคมี ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ทุกฤดูเป็นข้าวต้นเตี้ยต้านทานการหักล้ม ให้ผลผลิตสูงถึง 700 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างโอกาสในการแข่งขันกับข้าวพื้นนุ่มของเวียดนามได้ในอนาคต ส่งผลให้สมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของข้าวพันธุ์ “หอมแม่โจ้ 9” จึงได้ลงนามเพื่อขอใช้สิทธิ ซึ่งได้รับการคุ้มครองเป็นพืชพันธุ์ใหม่ จากกรมวิชาการการเกษตร เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 เพื่อแสดงว่า สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืชใหม่ คือ พันธุ์ “หอมแม่โจ้9” พร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยพันธุ์ข้าว เพื่อผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวสู่เกษตรกร ซึ่งได้รับงบประมาณการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 จนถึงปัจจุบัน และได้ดำเนินงานด้านการวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ แสงทอง กล่าวเพิ่มเติมว่า “ “ข้าวหอมแม่โจ้ ๙” นั้นมีความหมาย
"๙" น้อมถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ที่สถิตอยู่ในใจชาวไทยตลอดกาลนาน
"หอมแม่โจ้" หมายถึง ข้าวพันธุ์นี้ปรับปรุงพันธุ์มาจาก"มหาวิทยาลัยแม่โจ้"
อยากให้ชาวนาผู้ปลูกข้าว และผู้บริโภคข้าวคิดถึงเรา "มหาวิทยาลัยแม่โจ้" อยากให้ชื่อเสียงของ 'มหาวิทยาลัยแม่โจ้" หอมหวลทั่วท้องทุ่งนาไทย
"หอมแม่โจ้ ๙ " เพื่อคนไทย เพื่อชาติไทย เพื่อชาวนาไทย
แม่โจ้ : มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต
ปรับปรุงข้อมูล : 3/12/2564 9:42:24     ที่มา : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 392

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

กิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ในวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งแสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน เพื่อเรียนรู้ถึงเทคนิคปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ ให้สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยกิจกรรมในครั้งนี้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ ต่างๆดังนี้ • การหาความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานและการไทเทรตระหว่างกรด-เบส โดยทีมวิทยากร จากสาขาวิชาเคมี • การฝึกปฏิบัติการในหัวข้อ การตรวจสอบพืชจีเอ็มโอ โดยเทคนิคพีซีอาร์ โดยทีมวิทยากร จากสาขาวิชาพันธุศาสตร์ ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน รวมถึงการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
30 มิถุนายน 2568     |      301
คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้ ต้อนรับ อบต.ยม จ.น่าน เข้าศึกษาดูงานการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์
วันนี้ (26 มิถุนายน 2568) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลยม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 21 ท่าน จากองค์การบริหารส่วนตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานด้าน "การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์" ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การศึกษาดูงานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลยม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับทางเลือกในการจัดการศัตรูพืช รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมในชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคการเกษตรและชุมชนในท้องถิ่นต่อไป
26 มิถุนายน 2568     |      714
คณะวิทยาศาสตร์ จัดโครงการติดตามและประเมินผลค่าเทอมเหมาจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2568
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดโครงการติดตาม วิเคราะห์ และประเมินผลค่าธรรมเนียมการศึกษาประเภทเหมาจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ ติดตาม วิเคราะห์ และประเมินผลการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาประเภทเหมาจ่ายของหลักสูตรต่างๆ รวมถึง สร้างความเข้าใจและวางแผนการบริหารจัดการเงินงบประมาณรายได้ประจำปี 2568 อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผลจากการวิเคราะห์และประเมินผลในครั้งนี้จะถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการ พิจารณาประกอบการปรับปรุงหลักสูตรในปี 2570 และเพื่อ เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 โดยเฉพาะในส่วนของรายจ่ายลงทุน (ครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง) และแผนรายจ่ายลงทุนระยะ 5 ปีของคณะฯ
25 มิถุนายน 2568     |      588
หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ยกระดับความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2568 หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ยกระดับความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับนักเรียนในโครงการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถนักเรียน โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โดยจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เพิ่มพูนทักษะทางชีวเคมี” กิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ฐานเรียนรู้ ได้แก่ 1. การวัดค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ให้นักเรียนเรียนเกี่ยวกับความสำคัญของค่าความเป็นกรดด่าง ได้ชิมเครื่องดื่ม และทดสอบด้วย pH strips (Merck, USA) Universal indicator และอ่านผลจากแถบสีที่ปรากฏ และใช้ pH meter ในการวัดค่าความเป็นกรดด่างของเครื่องดื่ม 2. การวัดปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ซึ่งจากตัวอย่างเครื่องดื่ม/อาหารที่นักเรียนได้วัดค่าความเป็นกรดด่าง นักเรียนจะได้ลองวัดปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่อยู่ในเครื่องดื่มเหล่านั้น ด้วยวิธีการ dinitrosalicylic acid (DNS) assay ที่สามารถบ่งบอกปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์จากการเปลี่ยนสีของสาร DNS เมื่อผสมกับตัวอย่างและนำไปให้ความร้อน และ 3. การวัดปริมาณโปรตีนที่ละลายน้ำได้ (soluble proteins) ซึ่งนักเรียนจะได้วัดปริมาณโปรตีนที่ละลายอยู่ในเครื่องดื่ม/อาหาร โดยใช้วิธีแบรดฟอร์ด (Bradford’s protein assay) ที่อาศัยการเปลี่ยนสีของสาร Coomassie Brilliant Blue G-250 ซึ่งแปรผันตรงกับปริมาณโปรตีนที่อยู่ในตัวอย่างทดสอบ ในการจัดอบรมดังกล่าว ทางหน่วยความเป็นเลิศฯ ได้นำนักศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เข้าร่วมในการเตรียมการและดำเนินการจัดกิจกรรมด้วย เพื่อให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้เรียนจากชั้นเรียนและงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ในหน่วยความเป็นเลิศฯ เข้ากับกิจกรรมการบริการวิชาการ
23 มิถุนายน 2568     |      1060