คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University

วันพุธที่ 22 ธันวาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 3 ภายใต้ชื่อ The 3rd International Conference on Renewable Energy, Sustainable Environmental and Agri-Technological Innovation (i-RESEAT 2021) ในรูปแบบ online และ onsite โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับ และ Dr. Rameshprabu Ramaraj ผู้ช่วยคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ กล่าวรายงาน ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 22 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ ห้อง 80-201 อาคารเรียนรวม 80 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมทั้งถ่ายทอดสดทาง https://www.youtube.com/watch?v=tJhteFG_Gnc

รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้เป็นงานเกี่ยวกับพลังงานทดแทน เทคโนโลยีด้านการเกษตรและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ร่วมมือกับ Kaohsiung Medical University ประเทศไต้หวัน และ University of Stavanger ประเทศนอร์เวย์ และอื่นๆ อีกหลายประเทศ การจัดงานครั้งนี้ได้สนับสนุนจุดยืนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้อันเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยมุ่งเน้นการทำความร่วมมือและเผยแพร่องค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรอัจฉริยะและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังได้เล็งเห็นถึงการสร้างองค์ความรู้ทางด้านการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบวนเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งสำหรับโลกในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยุทธศาสตร์ที่ 3 วิจัยและบริการวิชาการด้านเกษตรสมัยใหม่ระดับสากล และยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างและพัฒนานักเทคโนโลยี นวัตกร และผู้ประกอบการ และทิศทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ “Go Green, Go Eco and Go Smart” ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้เข้าสู่ความเป็นสากล ผลักดันให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology/Innovation) ที่มีความเข้มแข็งด้านวิชาการในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น”

ด้าน Dr. Rameshprabu Ramaraj ผู้ช่วยคณบดี วิทยาลัยพลังงานทดแทน ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการการจัดงานฯ ร่วมกับ วิทยาลัยพลังงานทดแทน คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะศิลปศาสตร์ และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดขึ้นเพื่อร่วมส่งเสริมให้บุคลากร นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปทั้งในและต่างประเทศได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนสร้างความ ร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งผลงานที่นำเสนอมีโอกาสได้รับคัดเลือกให้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับ ISI อีกด้วย ซึ่งในครั้งนี้ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมจำนวน 200 ผลงาน จากทุกทวีป 28 ประเทศทั่วโลก”

ปรับปรุงข้อมูล : 23/12/2564 15:49:48     ที่มา : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 483

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจการออกแบบหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2565 กิจกรรมที่ 2 : การอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสร้างแบบสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการใช้ AI ในการสังเคราะห์ PLOs”
ในวันพุธที่ 2 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจการออกแบบหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2565 กิจกรรมที่ 2 ภายใต้หัวข้อ "การสร้างแบบสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการใช้ AI ในการสังเคราะห์ PLOs" เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรเข้าใจแนวทางการออกแบบหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2565 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Co-Working Space) ชั้น 1 อาคาร 60 ปี แม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ?? ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายัณห์ อุ่นนันกาศ บรรยายหัวข้อ "การใช้ AI ในการสังเคราะห์ PLOs" ?? ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะ ลาน้ำเที่ยง บรรยายหัวข้อ "การสร้างแบบสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย" กิจกรรมนี้เป็นโอกาสสำคัญสำหรับคณาจารย์และบุคลากรในการพัฒนาทักษะด้านการออกแบบหลักสูตรและนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ?? ติดตามภาพบรรยากาศและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์ Website : http://www.science.mju.ac.th/ ?? ชมภาพกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Facebook คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Facebook : https://www.facebook.com/scimju
2 เมษายน 2568     |      70
คณะวิทยาศาสตร์ร่วมแสดงความยินดีกับบุคลากร ที่ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ขอแสดงความยินดีกับ 1.นายสุรพล  จิโน  ในโอกาสที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น  "ตำแหน่งหัวหน้างานบริหารและธุรการ"  สังกัดงานบริหารธุราร สำนักงานคณบดี2.นางสาวมัลลิกา  แซ่ลิ้ม  ในโอกาสที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น "ตำแหน่งนักวิชาการพัสดุชำนาญการ"  สังกัดงานคลังและพัสดุ สำนักงานคณบดี3.นายนันทวัฒน์  รักษ์เผ่าสุวรรณ  ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา  ปฏิบัติงาน สังกัดคณะศิลปศาสตร์
4 เมษายน 2568     |      178
คณะวิทยาศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 (5th ICSTI-MJU)
ในวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีรพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 หรือ The 5th International Conference on Science Technology & Innovation-Maejo University (5th ICSTI-MJU) (online&onsite) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เป็นผู้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการประชุม ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 ครั้งนี้ได้มีการบรรยายพิเศษ Keynote Speakers 4 ท่าน1.Professor Dr. Akira Baba (Faculty of Engineering and Graduate School of Science and Technology, Niigata University, Japan)2.Professor Dr. Siwaporn Meejoo Smith (Department of Chemistry, Faculty of Science, Mahidol University, Thailand)3.Associate Professor Dr. Yi-Hsin Chien (Department of Materials Science and Engineering, Feng Chia University, Taiwan) 4. Associate Professor Dr. Warintorn Chavasiri (Department of Chemistry, Faculty of Science, Chulalongkorn University, Thailand) พร้อมทั้งการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 จัดในรูปแบบการประชุมและนำเสนอออนไลน์ผ่านช่องทาง Zoom และ onsite เพื่อให้นักศึกษาจากทุกสถาบันการอุดมศึกษาทั้งในและนอกประเทศได้มีเวทีในการนำเสนอผลงาน ได้รับความรู้ที่เหมาะสมกับสาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ อีกทั้งยังช่วยเตรียมพร้อมสำหรับอาชีพในอนาคต เป็นการพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ ซึ่งมีผู้สนใจจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศและนอกประเทศ
28 มีนาคม 2568     |      628