คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University

ในวันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3 (Online Conference ผ่าน Microsoft Teams) พร้อมทั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เป็นผู้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้ ซึ่งในการประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมแบบออนไลน์จำนวนทั้งหมด 217 คน ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมกับสาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ ที่เหมาะสมกับอาชีพในอนาคต และเพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ

ในกิจกรรมในครั้งนี้ได้มีการบรรยายพิเศษของคณาจารย์ภายนอกคณะวิทยาศาสตร์ 3 ท่านได้แก่
1.รองศาสตราจารย์ ดร.ชลวิช นัทธี อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยี นานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายพิเศษ เรื่อง "Gait Recognition using Machine Learning Techniques"
2.ดร.ก่อศักดิ์โตวรรธกวณิชย์ผู้จัดการระบบนิเวศและบ่มเพาะธุรกิจ Startup สถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ บริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) บรรรยายพิเศษ เรื่อง “อุตสาหกรรมชีววิทยาสังเคราะห”
3.ศาสตราจารย์ดร.อลิสา วังใน อาจารย์ประจ าหลักสูตรชีวเคมีคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายพิเศษ เรื่อง “นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ - จากแลปสู่ห้าง"

พร้อมทั้งมีการนำเสนอผลงานพิเศษของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์จากหลากหลายมหาวิทยาลัยโดยมีการแบ่งออกป็น 5 หมวดหมู่การนำเสนอได้แก่ 1.กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และสิ่งแวดล้อม 2.กลุ่มคณิตศาสตร์และสถิติ 3.กลุ่มวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ 4.กลุ่มเคมี และนวัตกรรม เคมีอุตสาหกรรม 5.กลุ่มวัสดุศาสตร์และฟิสิกส์ประยุกต์ โดยจัดการนำเสนอเป็นภาคบรรยายทั้งหมด 11 กลุ่มและภาคโปสเตอร์อีก 6 กลุ่ม ซึ่งการประชุมนำเสนอในครั้งนี้เป็นการนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ผ่านช่องทาง Microsoft Teams เท่านั้น

ปรับปรุงข้อมูล : 17/3/2565 15:38:48     ที่มา : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 744

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

บริษัทไทยออยล์ เอนเนอร์ยี เซอร์วิส จำกัด ได้เข้าประชาสัมพันธ์กิจกรรมแนะนำธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ พร้อมเปิดรับสมัครงานนักศึกษานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม และนักศึกษาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้
ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 บริษัทไทยออยล์ เอนเนอร์ยี เซอร์วิส จำกัด เข้าประชาสัมพันธ์กิจกรรมแนะนำธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ พร้อมทั้งเปิดโอกาสรับสมัครเข้าทำงาน ซึ่งเปิดโอกาสให้กับน้องๆ นักศึกษาหลักสูตรนวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม และน้องๆ นักศึกษาจากหลักสูตรเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ห้องบรรยาย 3201 ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
20 พฤศจิกายน 2567     |      14
เจ้าหน้าที่ Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) คณะวิทยาศาสตร์
ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 เวลา 9.00-11.30 น. ทาง ดร.สุภาภรณ์ รอดประดิษฐ์ นักวิชาการพืชสวน สังกัด สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้นำคณะเจ้าหน้าที่จาก Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) ณ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ โดยมี ผศ.ดร.ปวีณา ภูมิสุทธาผล เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมฝึกประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้แก่คณะผู้ศึกษาดูงาน
20 พฤศจิกายน 2567     |      26
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน)
ในวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานต้อนรับและร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี คุณชัยยศ ชุณห์วิจิตรา ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสินทรัพย์ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจ ทั้งนี้พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัย และการให้บริการวิชาการของบุคลากรซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาของทั้งสองฝ่าย เพื่อสร้างองค์ความรู้และสร้างขีดความสามารถการบูรณาการด้านวิจัยและแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมร่วมกัน สร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของแต่ละฝ่าย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ผลงานวิจัย องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา (Talent Mobility) ระหว่างทั้งสองฝ่าย
19 พฤศจิกายน 2567     |      39