คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ด้วยเกณฑ์ CUPT QMS ประจำปีการศึกษา 2564 ในวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุม 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยการประเมินในปีนี้ได้เรียนเชิญคณะกรรมการประเมินได้แก่ 

1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โดม โล่ห์เพ็ชร์ "ประธานกรรมการ" (สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)

2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดวงดี แสนรักษ์ "กรรมการ" (สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา)

3.อาจารย์ ดร.มงคล ยะไชย "กรรมการ" (สังกัดคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

4.อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ ไชยวงศ์ "กรรมการ" (สังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

5.นางสาวธิดารักษ์ รัตนมณี  "เลขานุการ" (สังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

ซึ่งการประเมินโดยการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ด้วยเกณฑ์ CUPT QMS ประจำปีการศึกษา 2564 นั้นได้สำเร็จเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย

ปรับปรุงข้อมูล : 19/7/2565 15:49:06     ที่มา : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 354

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

คณะวิทยาศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 (4th ICSTI-MJU)
ในวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 หรือ The 4th International Conference on Science Technology & Innovation-Maejo University (4th ICSTI-MJU) (online&onsite) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เป็นผู้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการประชุม ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 ครั้งนี้ได้มีการบรรยายพิเศษKeynote Speakers 3 ท่าน 1.Professor Dr. Naratip Vittayakorn(Faculty of Science, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang Bangkok, THAILAND)Title: "ALTERNATIVE GLUCOSE MONITORING: LIQUID–SOLID CONTACT ELECTRIFICATION FOR DETECTING GLUCOSE IN URINE" 2.Assistant Professor Dr. Thitivatr PatanasakPinyo(Faculty of Information and Communication Technology Mahidol University Nakhon Pathom, THAILAND)Title: "FLATTENING METHODS FOR ADAPTIVE LOCATION-BASED SOFTWARE: THE VERY FIRST STEPOF ADAPTIVE UI DESIGN FOR AGING SOCIETY" 3.Dr. Kuanqing Liu(Tianjin Institute of Industrial Biotechnology, Chinese Academy of Sciences, CHINA)Title: "REGULATION OF TRANSLATION BY METHYLATION MULTIPLICITY OF 18S RRNA" พร้อมทั้งการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 จัดในรูปแบบการประชุมและนำเสนอออนไลน์ผ่านช่องทาง Microsoft Teams และ onsite เพื่อให้นักศึกษาจากทุกสถาบันการอุดมศึกษาทั้งในและนอกประเทศได้มีเวทีในการนำเสนอผลงาน ได้รับความรู้ที่เหมาะสมกับสาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ อีกทั้งยังช่วยเตรียมพร้อมสำหรับอาชีพในอนาคต เป็นการพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ ซึ่งมีผู้สนใจจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศและนอกประเทศ
29 มีนาคม 2567     |      13
คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมมือกับคณะผลิตกรรมการเกษตร และคณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำ จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมมือกับคณะผลิตกรรมการเกษตร และคณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำ จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 พร้อมทั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาของงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ ณ ห้องเอกภพวิทยา อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งการประชุมวิชาการในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์, คณะผลิตกรรมการเกษตร และคณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำ การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในครั้งนี้ได้มีการจัดรูปแบบการนำเสนอ 2 รูปแบบคือ 1.การนำเสนอผ่าน "โปสเตอร์" ซึ่งได้แบ่งกลุ่มหมวดหมู่การนำเสนอออกเป็น 6 กลุ่มได้แก่- วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และสิ่งแวดล้อม- เคมี และ นวัตกรรม เคมีอุตสาหกรรม- คณิตศาสตร์ และสถิติ- วัสดุศาสตร์ และฟิสิกส์ประยุกต์- วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ- เกษตรศาสตร์, พืชศาสตร์, การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน 2.การนำเสนอผ่าน "การบรรยาย" ซึ่งได้แบ่งกลุ่มหมวดหมู่การนำเสนอออกเป็น 7 กลุ่มได้แก่- วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และสิ่งแวดล้อม- เคมี และนวัตกรรม เคมีอุตสาหกรรม- คณิตศาสตร์ และสถิติ- วัสดุศาสตร์และฟิสิกส์ประยุกต์- วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ- เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ- เกษตรศาสตร์, พืชศาสตร์, การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน
29 มีนาคม 2567     |      12