คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University
ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่นักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากการแสดงและประกวดผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 สำนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งทางคณะวิทยาศาสตร์ได้รับรางวัลทั้งหมด 7 ท่าน ได้แก่

?? 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรีกาญจนา คล้ายเรือง
ผลงานวิจัย "การยับยั้งแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชด้วยอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่สังเคราะห์ โดย BACILLUS VELEZENSIS รหัส (AGR-P36)"

?? 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุจลินทร์ ผลจันทร์ และ อาจารย์ ดร.เนตราพร ด้วงสง
ผลงงานวิจัย "นวัตกรรมถ่านชีวภาพดัดแปลงเพื่อการจัดการซากวัสดุเหลือทิ้งจาก การเกษตรสำหรับพัฒนาชุมชนเกษตรแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

?? 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จีรววรณ พัชรประกิติ
ผลงานวิจัย "A Development of Total Dissolved Solids using Electrocoagulation Technology for Tapioca Starch Industry Water Treatment System"

?? 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา คงจรูญ
ผลงานวิจัย "Avenue for Refreshment and Immunity “Taste the Revolution” ภายใต้อนุสิทธิบัตรเลขที่ 22649"

?? 
รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี คงดี อัลเดรด
รับรางวัล "Outstanding Reviewer Winner"

?? 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา ราชกิจ
ผลงานวิจัย " Forecasting PM2.5 Concentrations in Chiang Mai using Machine Learning Models"

??
ทางคณะวิทยาศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ที่ได้รับรางวัลวิจัยทุกท่าน ??
ปรับปรุงข้อมูล : 24/10/2567 11:19:24     ที่มา : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 182

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

กิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ในวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งแสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน เพื่อเรียนรู้ถึงเทคนิคปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ ให้สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยกิจกรรมในครั้งนี้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ ต่างๆดังนี้ • การหาความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานและการไทเทรตระหว่างกรด-เบส โดยทีมวิทยากร จากสาขาวิชาเคมี • การฝึกปฏิบัติการในหัวข้อ การตรวจสอบพืชจีเอ็มโอ โดยเทคนิคพีซีอาร์ โดยทีมวิทยากร จากสาขาวิชาพันธุศาสตร์ ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน รวมถึงการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
30 มิถุนายน 2568     |      175
คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้ ต้อนรับ อบต.ยม จ.น่าน เข้าศึกษาดูงานการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์
วันนี้ (26 มิถุนายน 2568) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลยม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 21 ท่าน จากองค์การบริหารส่วนตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานด้าน "การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์" ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การศึกษาดูงานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลยม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับทางเลือกในการจัดการศัตรูพืช รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมในชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคการเกษตรและชุมชนในท้องถิ่นต่อไป
26 มิถุนายน 2568     |      594
คณะวิทยาศาสตร์ จัดโครงการติดตามและประเมินผลค่าเทอมเหมาจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2568
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดโครงการติดตาม วิเคราะห์ และประเมินผลค่าธรรมเนียมการศึกษาประเภทเหมาจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ ติดตาม วิเคราะห์ และประเมินผลการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาประเภทเหมาจ่ายของหลักสูตรต่างๆ รวมถึง สร้างความเข้าใจและวางแผนการบริหารจัดการเงินงบประมาณรายได้ประจำปี 2568 อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผลจากการวิเคราะห์และประเมินผลในครั้งนี้จะถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการ พิจารณาประกอบการปรับปรุงหลักสูตรในปี 2570 และเพื่อ เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 โดยเฉพาะในส่วนของรายจ่ายลงทุน (ครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง) และแผนรายจ่ายลงทุนระยะ 5 ปีของคณะฯ
25 มิถุนายน 2568     |      516
หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ยกระดับความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2568 หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ยกระดับความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับนักเรียนในโครงการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถนักเรียน โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โดยจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เพิ่มพูนทักษะทางชีวเคมี” กิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ฐานเรียนรู้ ได้แก่ 1. การวัดค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ให้นักเรียนเรียนเกี่ยวกับความสำคัญของค่าความเป็นกรดด่าง ได้ชิมเครื่องดื่ม และทดสอบด้วย pH strips (Merck, USA) Universal indicator และอ่านผลจากแถบสีที่ปรากฏ และใช้ pH meter ในการวัดค่าความเป็นกรดด่างของเครื่องดื่ม 2. การวัดปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ซึ่งจากตัวอย่างเครื่องดื่ม/อาหารที่นักเรียนได้วัดค่าความเป็นกรดด่าง นักเรียนจะได้ลองวัดปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่อยู่ในเครื่องดื่มเหล่านั้น ด้วยวิธีการ dinitrosalicylic acid (DNS) assay ที่สามารถบ่งบอกปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์จากการเปลี่ยนสีของสาร DNS เมื่อผสมกับตัวอย่างและนำไปให้ความร้อน และ 3. การวัดปริมาณโปรตีนที่ละลายน้ำได้ (soluble proteins) ซึ่งนักเรียนจะได้วัดปริมาณโปรตีนที่ละลายอยู่ในเครื่องดื่ม/อาหาร โดยใช้วิธีแบรดฟอร์ด (Bradford’s protein assay) ที่อาศัยการเปลี่ยนสีของสาร Coomassie Brilliant Blue G-250 ซึ่งแปรผันตรงกับปริมาณโปรตีนที่อยู่ในตัวอย่างทดสอบ ในการจัดอบรมดังกล่าว ทางหน่วยความเป็นเลิศฯ ได้นำนักศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เข้าร่วมในการเตรียมการและดำเนินการจัดกิจกรรมด้วย เพื่อให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้เรียนจากชั้นเรียนและงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ในหน่วยความเป็นเลิศฯ เข้ากับกิจกรรมการบริการวิชาการ
23 มิถุนายน 2568     |      965