คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University

ประวัติความเป็นมา

  คณะ วิทยาศาสตร์เป็นหน่วยงานหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 เดิมสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยได้รับการจัดตั้งตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 110 ตอนที่ 34 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2536 แต่เดิมคณะวิทยาศาสตร์ถือเป็นกลุ่มหมวดวิชาในภาควิชาศึกษาทั่วไป คณะธุรกิจการเกษตร ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2539) ได้กำหนดนโยบายด้านการผลิตและพัฒนากำลังคน ในสาขาวิชาที่ขาดแคลนโดย ฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อ สนองนโยบายดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้ยกฐานะงานเดิมจาก หมวดวิทยาศาสตร์ รวมกับหมวดคณิตศาสตร์และสถิติ ภาควิชาศึกษาทั่วไป คณะธุรกิจการเกษตรจังตั้งขึ้นเป็นคณะวิทยาศาสตร์และในระยะเริ่มต้นคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้ง คณะวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งส่วนราชการ ให้มีสำนักงานเลขานุการ เพียงหน่วยงานเดียว ส่วนภาควิชาต่าง ๆ ยังไม่อนุมัติให้มีการแบ่งส่วนราชการ เนื่องจากเป็นระยะ เริ่มต้นของการจัดตั้งคณะ ฯ โดยมีการพัฒนาเป็นลำดับดังนี้

                        พ.ศ. 2536 จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
                        พ.ศ. 2538 เริ่มรับนักศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิต โดยเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต(วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
                        พ.ศ. 2539 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัฑิต (วท.บ.)หลักสูตร 4 ปี สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
                        พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัฑิต (วท.บ.)หลักสูตร 4 ปี สาขาเคมี
                        พ.ศ. 2541 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัฑิต (วท.บ.)หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาสถิติ
                        พ.ศ. 2545 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัฑิต (วท.บ.)หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
                        พ.ศ. 2546 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัฑิต (วท.บ.)หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาคณิตศาสตร์
                        พ.ศ. 2548 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
                        พ.ศ. 2549 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาเคมีประยุกต์
                        พ.ศ. 2550 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัฑิต (วท.บ.)หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาวัสดุศาสตร์
                        พ.ศ. 2552 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาพันธุศาสตร์
                        พ.ศ. 2552 เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) สาขาวิชาพันธุศาสตร์
                        พ.ศ. 2553 เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) สาขาวิชาเคมีประยุกต์
                        พ.ศ. 2553 เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
                        พ.ศ. 2555 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอ
                        พ.ศ. 2555 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
                        พ.ศ. 2556 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนาโน
                        พ.ศ. 2559 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาฟิสิกส์
                        พ.ศ. 2560 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัฑิต (วท.ม.) สาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล
                        พ.ศ. 2565 ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัฑิต (วท.บ.)หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาสถิติ  เปลี่ยนชื่อเป็น สาขาวิชาสถิติและการจัดการสารสนเทศ
                        พ.ศ. 2565 ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัฑิต (วท.บ.)หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ เปลี่ยนชื่อเป็น สาขาวิชานวัตกรรมวัสดุ
                        พ.ศ. 2565 ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัฑิต (วท.บ.)หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอ เปลี่ยนชื่อเป็น  สาขาวิชานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม
                        พ.ศ. 2566 เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ Industrial Optimisation and Applications (หลักสูตรนานาชาติ)

เพื่อให้คณะสามารถดำเนินงานให้เป็นไปตามปรัชญา  ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจและสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย คณะจึงได้กำหนดเป้าประสงค์ในการดำเนินงานของหน่วยงานดังต่อไปนี้

  1. เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัย และผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพในระดับสากล
  2. เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและประเทศชาติ
  3. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เพิ่มคุณภาพชีวิต ก่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  4. เพื่อดำรงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและรักษาสิ่งแวดล้อม
  5. เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามหลักธรรมาภิบาล

ปรัชญา

“มุ่งสร้างองค์ความรู้ สู่ความเป็นสากลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการผลิตบัณฑิตที่ใฝ่รู้สู้งาน มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเป็นรากฐานสู่การพัฒนาการเกษตรไทย”

วิสัยทัศน์

“มีความเป็นเลิศทางวิชาการ นำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนางานวิจัย และสร้างสรรค์นวัตกรรม สู่ระดับนานาชาติ”

มีความเป็นเลิศทางวิชาการ หมายถึง การผลิตบัณฑิตที่จบไปแล้วมีงานทำตรงสายวิชาชีพ และเป็นผู้นำขององค์กรที่เป็นที่ยอมรับในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจที่ (1) และตรงกับประเด็นยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้

  • การผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ
  • บัณฑิตมีคุณลักษณะเป็นผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นนานาชาติ
  • การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเชิงคุณภาพสู่ความเป็นสากล

นำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาพัฒนางานวิจัย หมายถึง การผลิตผลงานวิจัยและทำการเผยแพร่ในระดับต่าง ๆ รวมทั้งการสร้างและพัฒนานวัตกรรม การบูรณาการการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งพบว่าสอดคล้องกับ ทิศทางงานวิจัย พันธกิจที่ (2) และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม พันธกิจที่ (4) และตรงกับประเด็นยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้

  • การสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม นำสู่การใช้ประโยชน์
  • การรวบรวมองค์ความรู้เพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ระบบนิเวศ และการบูรณาการการเรียนการสอนและการวิจัย

สร้างสรรค์นวัตกรรมสู่ระดับนานาชาติ หมายถึง การนำงานวิจัยและและนวัตกรรมเผยแพร่ไปสู่นานาชาติ และพันธกิจที่ (3) และตรงกับประเด็นยุทธศาสตร์

  • การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณะ

พันธกิจ

  1. การจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานและผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ และมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์
  2. การดำเนินการวิจัยและนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ โดยให้เกิดการบูรณาการ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ
  3. การเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ชุมชน
  4. การอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ และพัฒนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยยึดหลักธรรมาภิบาล