คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University
โครงการเสริมสร้างบรรยากาศในการส่งเสริมการทำงาน ในหัวข้อเรื่อง "วิธีจัดการเก็บเงินขั้นเทพฉบับลงมือทำ"
ในวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการเสริมสร้างบรรยากาศในการส่งเสริมการทำงาน ในหัวข้อเรื่อง "วิธีจัดการเก็บเงินขั้นเทพฉบับลงมือทำ" โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ดารา ภูสง่า รองคณบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ ณ ห้องประชุม 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ ซึงโครงการในครั้งนี้้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างนิสัยในการบริหารการจัดการเงินในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งแนวทางในการจัดการการเงินในอนาคต โดย วิทยากรคุณวุฒิ คุณปาจรีย์ ปานขาว “ผู้ก่อตั้งเพจอภินิหารเงินออม”
23 พฤษภาคม 2567     |      165
โครงการเขียนร่างรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะ ด้วยเกณฑ์ CUPT-QMS Guidelines ประจำปีการศึกษา 2566 กิจกรรมที่ 2
ในวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการเขียนร่างรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะ ด้วยเกณฑ์ CUPT-QMS Guidelines ประจำปีการศึกษา 2566 กิจกรรมที่ 2 "ทบทวนการนำข้อมูลด้านวิจัยและนวัตกรรมของคู่เทียบมาสร้างแนวทางปฏิบัติงานวิจัยให้มีความโดดเด่น" โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ดารา ภูสง่า รองคณบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ ณ ห้องประชุม2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งภายในโครงการได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง "การเขียนรายงาน Criteria 3 ให้บรรลุ ระดับ 4" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะ ลาน้ำเที่ยง และในหัวข้อเรื่อง "ทบทวนการนำข้อมูลด้านวิจัยและนวัตกรรมของคู่เทียบมาสร้างแนวทางปฏิบัติงานวิจัยให้มีความโดดเด่น" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดารา ภูสง่า
17 พฤษภาคม 2567     |      153
คณะวิทยาศาสตร์ จัดโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566 กิจกรรมที่ 1 : การวิพากษ์เล่มรายงาน AUN QA Version 4.0
ในวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566 กิจกรรมที่ 1 : การวิพากษ์เล่มรายงาน AUN QA Version 4.0 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และระบบออนไลน์ผ่าน Microsoft Teams ซึ่งภายในโครงการได้มีการบรรยาย เรื่อง "กระบวนการดำเนินงานของหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับเกณฑ์การ ประกันคุณภาพการศึกษา AUN QA Version 4.0" พร้อมทั้งการวิพากษ์ AUN QA ระดับหลักสูตรใน Criteria ที่ 14 ของตัวแทนหลักสูตร จากวิทยากรคุณวุฒิ รองศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ บัวเจริญ พร้อมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง "การสืบค้นข้อมูลจากระบบสารสนเทศของ มหาวิทยาลัย เพื่อใช้ประกอบการจัดทำรายงาน AUN QA" โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะ ลาน้ำเที่ยง
14 พฤษภาคม 2567     |      166
คณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมรับรางวัลสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานดีเด่น ระดับมหาวิทยาลัย ประจำปี 2567
ในวันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมรับรางวัลสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานดีเด่น ระดับมหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 สำนักงานมหาวิทยาลัย โดยคณะวิทยาศาสตร์ได้รับรางวัลผลงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 ผลงานดังนี้ 1.ผลงาน: ระบบคำนวณการผ่อนชำระสินเชื่อ ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 (ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) นักศึกษาที่ได้รับรางวัล นางสาวธัญชนก ปัญญาคำ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ นายปกรณ์ศิษฐ โฆษิตกุล นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ นางสาวปาลิตา รักพ่อ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ อาจารย์ ดร.สมนึก สินธุปวน อาจารย์อรรถวิท ชังคมานนท์ 2.ผลงาน: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าพลังงานลอยตัว (Convective Avilable Potential Energy, CAPE) และค่าพลังงานที่จำเป็นในการยกตัวของอนุภาค (Convective lnhibition, ClN) กับโอกาสการเกิดลูกเห็บ ได้รับรางวัล ชนะเลิศ (ด้านนวัตกรรมสหกิจศึกษา) นักศึกษาที่ได้รับรางวัล นางสาวอิชยา รัตนสุพงษ์ นักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ กรรเชียง รองศาสตราจารย์ ดร.ชูพงษ์ ภาคภูมิ 3.ผลงาน:ระบบคำนวณการมองเห็นวัตถุท้องฟ้าเพื่อการเผ้าติดตามทางดาราศาสตร์ (Celestial Visibility Calculating for Astronomical Monitoring System) ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 (ด้านนวัตกรรมสหกิจศึกษา) นักศึกษาที่ได้รับรางวัล นางสาวบุญยานุช พุฒิเมธาวุฒิ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ อาจารย์ ดร.พยุงศักดิ์ เกษมสำราญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พาสน์ ปราโมกข์ชน 4.ผลงาน: ระบบตรวจวัดสภาพอากาศและความหนาแน่นของมวลเมฆด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Weather and Cloud Density MonitoringSystem using Internet of Things Technology) ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 (ด้านนวัตกรรมสหกิจศึกษา) นักศึกษาที่ได้รับรางวัล นางสาวภัทรวดี จันทมณี นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ อาจารย์ ดร.พยุงศักดิ์ เกษมสำราญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พาสน์ ปราโมกข์ชน
8 พฤษภาคม 2567     |      243
ทั้งหมด 93 หน้า