คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ UNIVERSITY OF RIZAL SYSTEM Province of Rizal จัดโครงการจัดฝึกอบรมออนไลน์ "ONLINE TRAINING SERIES ON INTERFACING BIOLOGICAL SCIENCES PRINCIPLES IN SUSTAINABLE AGRICULTURAL PRODUCTION"
ในวันพุธที่ 24 เมษายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ UNIVERSITY OF RIZAL SYSTEM Province of Rizal จัดโครงการจัดฝึกอบรมออนไลน์ "ONLINE TRAINING SERIES ON INTERFACING BIOLOGICAL SCIENCES PRINCIPLES IN SUSTAINABLE AGRICULTURAL PRODUCTION" ในธีม "URS: Transcending Borders for Enhanced Capacities and Sustained Partnerships" โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งโครงการครั้งนี้ อาจารย์ ดร.ทิพปภา พิสิษฐ์กุล อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ได้เข้าร่วมนำเสนองานวิจัย ในหัวข้อเรื่อง "ene Manipulation" โดยงานจัดเป็นแบบการนำเสนอออนไลน์  ซึ่งโครงการจัดฝึกอบรมออนไลน์ "ONLINE TRAINING SERIES ON INTERFACING BIOLOGICAL SCIENCES PRINCIPLES IN SUSTAINABLE AGRICULTURAL PRODUCTION" จัดขึ้นเนื่องจาก คณะวิทยาศาสตร์ ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ Memorandum of Agreement (MOA) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ University of Rizal System ประเทศฟิลิปปินส์ โดยจะจัดในระหว่างวันที่ 24 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 23 เมษายน 2568
24 เมษายน 2567     |      68
โครงการสร้างเสริมและพัฒนาทักษะวิชาชีพ Upskill & Reskill สำหรับศิษย์เก่า (สาขาวิชาคณิตศาสตร์)
วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ร่วมกับบริษัทสมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด จัดโครงการสร้างเสริมและพัฒนาทักษะวิชาชีพ Upskill & Reskillสำหรับศิษย์เก่า สาขาวิชาคณิตศาสตร์) เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ให้แก่ ศิษย์เก่า นักศึกษา และผู้ที่สนใจ โดยมีหัวข้อการอบรมดังนี้1. หัวข้อ“Green Technology for Green Community 2024”    โดย คุณรัชพล โง่นใจรักษ์    ประธานกรรมการบริหารฝ่ายธุรกิจ บริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด2. หัวข้อ “พิชิตDataยุคใหม่ ด้วยMicrosoft Excel”    โดย ว่าที่ ร.ต. ดร.มาโนชญ์ ตนสิงห์    นักวิชาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้3. หัวข้อ “เคล็ดลับการใช้canvaเพื่อประยุกต์ใช้ในการทำงาน    โดย คุณธนกฤต คำวงค์ปิน    นักวิชาการโสตทัศนศึกษา คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยในงานนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ คงธรรม (ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร) มาเป็นผู้กล่าวเปิดโครงการ ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ของโครงการคือ เพื่อพัฒนาทักษะใหม่หรือเพิ่มเติมทักษะในความเชี่ยวชาญให้แก่ศิษย์เก่าสาขาวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อให้ศิษย์เก่าสาขาวิชาคณิตศาสตร์ได้นำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดในการประกอบอาชีพ และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ศิษย์เก่าสาขาวิชาคณิตศาสตร์
22 เมษายน 2567     |      43
คณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2567
ในวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งคณะผู้บริหารและบุคลากรคณะฯ เข้าร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2567 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม โดยมี นายอำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัย มาเป็นประธานพร้อมทั้งกล่าวอวยพรปีใหม่ ให้กับผู้บริหาร บุคลากรมหาวิทยาลัย นอกจากที่ยังมีกิจกรรมการประกวดส้มตำลีลา และการแข่งขันการเดินขบวนเข้าสู่งาน ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
19 เมษายน 2567     |      59
คณะวิทยาศาสตร์ จัดโครงการรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส และคณบดี เนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์ ประจำปี 2567
ในวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส และคณบดี  เนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์ ประจำปี 2567 ณ ห้องเอกภพวิทยา อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีและความรักความสมานสามัคคีของบุคลากร ภายในคณะวิทยาศาสตร์ และเพื่ออนุรักษ์และสืบสานประเพณีสงกรานต์ ตลอดทั้งให้ให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่นโดยในกิจกรรมในครั้งนี้ได้มีการรดน้ำดำหัวคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเชิญผู้อาวุโสคณะวิทยาศาสตร์มา 5 ท่าน 1.รองศาสตราจารย์จรัส กาใหญ่ 2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรชัย สัมภวมาน 3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉัตรลดา วงศ์สถาน 4.นางบุษบา กาหล 5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ จูมวงษ์
19 เมษายน 2567     |      55
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ในวันพุธที่ 3 เมษายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ณ ห้อง 223 อาคารคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ รองศาสตราจารย์ ดร.เพียรพูล กมลจิตร์ประภา คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้กล่าวต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.ดารา ภูสง่า รองคณบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายัณห์ อุ่นนันกาศ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษากิจการพิเศษและวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภรัตน์ นาคสิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ และ บุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าศึกษาดูงาน โดยเยี่ยมชมศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง SICC ห้องปฏิบัติการการบรรจุภัณฑ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ CLEAN ROOM และแบ่งกลุ่มหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน ด้านการบริหารและธุรการ ด้านวิชาการ ระบบสารสนเทศและโสตทัศนูปกรณ์ ด้านคลัง พัสดุ และอาคารสถานที่ โดยมีผู้บริหารและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ให้การต้อนรับ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างวิสัยทัศน์ของบุคลากร นำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการบริหารจัดการของสำนักงานคณบดีให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้เยี่ยมชม ศูนย์การเรียนรู้และการเรียนการสอนต้นแบบการสร้างเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน Virtual Reality Startup Center สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
7 เมษายน 2567     |      98
คณะวิทยาศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 (4th ICSTI-MJU)
ในวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 หรือ The 4th International Conference on Science Technology & Innovation-Maejo University (4th ICSTI-MJU) (online&onsite) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เป็นผู้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการประชุม ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 ครั้งนี้ได้มีการบรรยายพิเศษKeynote Speakers 3 ท่าน 1.Professor Dr. Naratip Vittayakorn(Faculty of Science, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang Bangkok, THAILAND)Title: "ALTERNATIVE GLUCOSE MONITORING: LIQUID–SOLID CONTACT ELECTRIFICATION FOR DETECTING GLUCOSE IN URINE" 2.Assistant Professor Dr. Thitivatr PatanasakPinyo(Faculty of Information and Communication Technology Mahidol University Nakhon Pathom, THAILAND)Title: "FLATTENING METHODS FOR ADAPTIVE LOCATION-BASED SOFTWARE: THE VERY FIRST STEPOF ADAPTIVE UI DESIGN FOR AGING SOCIETY" 3.Dr. Kuanqing Liu(Tianjin Institute of Industrial Biotechnology, Chinese Academy of Sciences, CHINA)Title: "REGULATION OF TRANSLATION BY METHYLATION MULTIPLICITY OF 18S RRNA" พร้อมทั้งการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 จัดในรูปแบบการประชุมและนำเสนอออนไลน์ผ่านช่องทาง Microsoft Teams และ onsite เพื่อให้นักศึกษาจากทุกสถาบันการอุดมศึกษาทั้งในและนอกประเทศได้มีเวทีในการนำเสนอผลงาน ได้รับความรู้ที่เหมาะสมกับสาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ อีกทั้งยังช่วยเตรียมพร้อมสำหรับอาชีพในอนาคต เป็นการพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ ซึ่งมีผู้สนใจจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศและนอกประเทศ
29 มีนาคม 2567     |      207
คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมมือกับคณะผลิตกรรมการเกษตร และคณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำ จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมมือกับคณะผลิตกรรมการเกษตร และคณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำ จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 พร้อมทั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาของงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ ณ ห้องเอกภพวิทยา อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งการประชุมวิชาการในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์, คณะผลิตกรรมการเกษตร และคณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำ การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในครั้งนี้ได้มีการจัดรูปแบบการนำเสนอ 2 รูปแบบคือ 1.การนำเสนอผ่าน "โปสเตอร์" ซึ่งได้แบ่งกลุ่มหมวดหมู่การนำเสนอออกเป็น 6 กลุ่มได้แก่- วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และสิ่งแวดล้อม- เคมี และ นวัตกรรม เคมีอุตสาหกรรม- คณิตศาสตร์ และสถิติ- วัสดุศาสตร์ และฟิสิกส์ประยุกต์- วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ- เกษตรศาสตร์, พืชศาสตร์, การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน 2.การนำเสนอผ่าน "การบรรยาย" ซึ่งได้แบ่งกลุ่มหมวดหมู่การนำเสนอออกเป็น 7 กลุ่มได้แก่- วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และสิ่งแวดล้อม- เคมี และนวัตกรรม เคมีอุตสาหกรรม- คณิตศาสตร์ และสถิติ- วัสดุศาสตร์และฟิสิกส์ประยุกต์- วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ- เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ- เกษตรศาสตร์, พืชศาสตร์, การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน
29 มีนาคม 2567     |      88
คณะวิทยาศาสตร์ จัดโครงการทำบุญเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ครบรอบ 31 ปี
ในวันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากรในคณะวิทยาศาสตร์ จัดโครงการทำบุญเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ เนื่องในโอกาสที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ครบรอบ 31 ปี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้บุคลากรภายในคณะวิทยาศาสตร์ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับคณะฯ และมหาวิทยาลัย
27 มีนาคม 2567     |      128
การอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับตัวแทนและผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ไบโอดีไซน์ จำกัดในหัวข้อ “พื้นฐานและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย Oxford Nanopore sequencing ”
ในวันที่ 22-23 มีนาคม 2567 นักวิจัยในโครงการ “การพัฒนานักวิจัยแนวหน้าในระดับหลังปริญญาเอกและหลังปริญญาโทด้านการใช้จุลชีววิทยาเชิงระบบฯ” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับตัวแทนและผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ไบโอดีไซน์ จำกัดในหัวข้อ “พื้นฐานและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย Oxford Nanopore sequencing ” เพื่อให้ความรู้แก่นักวิจัยระดับหลังปริญญาฯในโครงการ นักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ บุคลากร และนักวิจัยที่ให้ความสนใจ ในวันที่ 22 มีนาคม 2567 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้อง 3201 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจัด hands-on workshop ในวันที่ 22 มีนาคม 2567 เวลา 13.30-16.30 น. และวันที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 9.00-12.00 น. ณ หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการจัดอบรมครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านจุลชีววิทยาเชิงระบบ (Center of Excellence in Systems Microbiology; CESM) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย พยุงภร และอาจารย์ ดร.พรชัย แก้วทรัพย์ศักดิ์ช่วยให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมทั้งในภาคบรรยายและปฏิบัติการ
25 มีนาคม 2567     |      83
คณะวิทยาศาสตร์ จัดโครงการการสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา (Course Learning outcomes: CLOs) ให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (Program Learning Outcomes: PLOs) กิจกรรมที่ 3
ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการการสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา (Course Learning outcomes: CLOs) ให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (Program Learning Outcomes: PLOs) กิจกรรมที่ 3 ทบทวนการเขียนรายงาน ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา (AUN-QA) Version 4.0 ณ ห้องประชุม 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ การเขียนรายงานการประคุณภาพการศึกษา ใน Criterion 6 Student Support Services (การบริการและการช่วยเหลือผู้เรียน) และ Criterion 7 Facilities and Infrastructure (สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชดาภรณ์ ปันทะรส พร้อมทั้งสรุปและวิเคราะห์การเขียนรายงานการเขียนร่างรายงานการประคุณภาพการศึกษา ใน Criterion 6 Student Support Services (การบริการและการช่วยเหลือผู้เรียน) และCriterion 7 Facilities and Infrastructure (สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนิกานต์ เอมหฤทัย ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์
21 มีนาคม 2567     |      116
ทั้งหมด 37 หน้า