คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Faculty of Science, Maejo University
Delightex and Maejo University's Collaboration to Advance Biotechnological Innovations (ความร่วมมือระหว่างบริษัท Delightex Pte. Ltd. และมหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพ สาธารณรัฐสิงคโปร์และเชียงใหม่ ประเทศไทย - [สิงหาคม 2567])
Since 2022, Delightex Pte. Ltd., a pioneering research firm based in Singapore and headed by Dr. Yutaka Kuroki, aims to identify and build the next generation business around naturally occurring substance, has started the strategic research collaboration with the Faculty of Science and the Institute of Product Quality and Standardization (IQS) at Maejo University, Chiang Mai, Thailand. This partnership aims to leverage the expertise of both entities to drive forward advancements in the fields of biotechnology and plant-based medicine/product development. Specifically, Dr. Tippapha Pisithkul, a faculty researcher and the head of the Unit of Excellence in Modern Plant Biotechnology, Faculty of Science, MJU, and her student research assistants undertake the project to examine the potential of Thai natural substances to enhance the proliferation of neuronal cell lines and influence expression of specific genes related to positive mood change. To date, more than 500 Thai natural substances have been explored, with 80 samples have been evaluated invitro. The collaboration between Delightex, and the Faculty of Science, MJU signifies a landmark moment in the pursuit of research and development within the biotechnology sector, centering on natural substances.Through this collaboration, Delightex and MJU's Faculty of Science reaffirm their shared commitment to advancing scientific knowledge and translating research findings into tangible solutions that address utilization of Thai natural substances. By harnessing the collective expertise of both organizations, the partnership aims to catalyze innovation and drive positive change in the biotechnology landscape. For more information about Delightex Pte. Ltd. and MJU's Faculty of Science, please visit https://secretary-science.mju.ac.th/, and https://biotech-grad.mju.ac.th/wtms_index.aspx?&lang=th-TH ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2565 บริษัท Delightex Pte. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยชั้นนำในสาธารณรัฐสิงคโปร์ นำโดยดร. ยูทากะ คุโรกิ มีเป้าหมายที่จะสร้างและพัฒนาธุรกิจรุ่นใหม่ (nextgeneration) โดยใช้สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยได้เริ่มความร่วมมือด้านการวิจัยเชิงกลยุทธ์กับคณะวิทยาศาสตร์ และสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (IQS) ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย การสร้างความร่วมมือนี้มุ่งหวังที่จะใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของทั้งสององค์กรเพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์/ยาจากพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร. ทิพปภา พิสิษฐกุล นักวิจัยและหัวหน้าหน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้ช่วยวิจัยนักศึกษาในหลักสูตร วท.ม. เทคโนโลยีชีวภาพ ทำโครงการเพื่อตรวจสอบศักยภาพของสารธรรมชาติของไทยในการเพิ่มจำนวนของเซลล์ประสาทและศึกษาอิทธิพลของสารสกัดจากพืชต่อการแสดงออกของยีนเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ในเชิงบวก จนถึงปัจจุบัน มีการสำรวจสารธรรมชาติ (natural substances) ในประเทศไทยแล้วกว่า 500 ชนิด โดยมีตัวอย่าง 80 ตัวอย่างที่ได้รับการประเมินในห้องปฏิบัติการ ความร่วมมือระหว่างบริษัท Delightex Pte. Ltd. และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการค้นคว้าและพัฒนาในภาคส่วนเทคโนโลยีชีวภาพโดยเน้นการใช้ประโยชน์จากสารธรรมชาติเป็นหลัก จากความร่วมมือนี้ บริษัท Delightex Pte. Ltd. และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เน้นย้ำความมุ่งมั่นร่วมกันในการส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแปลผลการวิจัยเป็นการประยุกต์ใช้ที่จับต้องได้ ความร่วมมือนี้มีเป้าหมายเพื่อเร่งการสร้างนวัตกรรมและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกของสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญร่วมกันของทั้งสององค์กร สามารถทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Delightex Pte. Ltd. และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ที่ https://delightexplorers.com/, https://secretary-science.mju.ac.th/ และ https://biotech-grad.mju.ac.th/wtms_index.aspx?&lang=th-TH
5 สิงหาคม 2567     |      164
คณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมนิทรรศการผลงานวิจัยเด่นเพื่อนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์
ในวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภรัตน์ นาคสิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิจัยและบริการวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมงานแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยเด่นเพื่อนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับ พร้อมทั้งรองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร กล่าวถึงวัตถุประสงค์กิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งภายในงานมีงานวิจัยหลายผลงานโดยร่วมผลงานของคณาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ด้วย
8 เมษายน 2565     |      333
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมงานมอบรางวัลให้แก่ทีมงานนักวิจัยที่เสนอผลงานและได้รับรางวัลชื่อเสียงด้าน SDG ให้แก่มหาวิทยาลัย
ในวันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมงานมอบรางวัลให้แก่ทีมงานนักวิจัยที่เสนอผลงานและได้รับรางวัลชื่อเสียงด้าน SDG ให้แก่มหาวิทยาลัย โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีได้เป็นประธานในการกล่าวขอบคุณ พร้อมทั้งเป็นผู้รับมอบรางวัลในงานครั้งนี้ ซึ่งทางคณะวิทยาศาสตร์นั้นได้รับได้รับรางวัลผลงานดีเด่น ประเภทบทความ ใน SUB THEME : SDGs during COVID-19 for Education ในชื่อผลงาน "การยกระดับกระบวนการผลิตสินค้าการเกษตรในชุมชนให้เป็นสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ ลดต้นทุนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ซึ่งเป็นผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล และนายเรืองฤทธิ์ ริณพัฒน์ ในการประกวดบทความด้านความยั่งยืนของคณาจารย์และบุคลากร ปี 2564 ในงานการประชุมประจำปีเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6 ในวันที่ 20-21 มกราคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสนและระบบ Online Conference ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 สำนักงานมหาวิทยาลัย
17 มีนาคม 2565     |      341
คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้ เข้าร่วมพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยและนำเสนองานวิจัยเด่น “MJU Licensing and Pitching Day 2021”
ในวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้ เข้าร่วมพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยและนำเสนองานวิจัยเด่น “MJU Licensing and Pitching Day 2021” ซึ่งจัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร (MAP) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยภายในงานนั้นได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิด โดยงานในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เพื่อให้เกิดการตื่นตัวและกระตุ้นแนวคิดเรื่องการนำนวัตกรรมไปใช้ในการเชื่อมโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาจากผลงานวิจัย ให้สามารถนำไปต่อยอดและขยายผลให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยผ่านช่องทางการอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย และเป็นการประกาศเกียรติคุณสำหรับนักวิจัยและผู้ประกอบการทุกท่านที่มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ไปสู่กระบวนการธุรกิจเชิงพาณิชย์อย่างมีศักยภาพ ” ณ อาคารพัฒนาวิสัยทัศน์ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผลงานวิจัยของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมลงนามอนุญาตใช้สิทธิในผลงานครั้งนี้มี จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ ชื่อผลงาน กระบวนการสกัดเย็นกาแฟด้วยเทคนิคอณูศิลปะวิทยาการทางอาหาร ผลงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา คงจรูญ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนวนเกษตรอินทรีย์เชียงราย ชื่อผลงาน กรรมวิธีการเตรียมน้ำตาลสกัดจากพืชกลุ่มหัวหอม ผลงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท สมาเฮลท์ตี้แคร์ จำกัด นอกจากนี้คณะวิทยาศาสตร์นั้นยังได้มีการนำเสนอผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่น มีศักยภาพและความพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่การสร้างธุรกิจนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ ชื่อผลงาน กระบวนการผลิตสิ่งทอต้านเชื้อแบคทีเรียและแมลงด้วยไมโครแคปซูล ผลงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี คงดี อัลเดรด สังกัด คณะวิทยาศาสตร์
11 มีนาคม 2565     |      400
ทั้งหมด 1 หน้า